รีเทนเนอร์ คือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการคงสภาพฟัน หลังจากจัดฟันเสร็จผู้ที่ถอดเครื่องมือจัดฟันไปแล้วจำเป็นต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งที่จัดฟันไว้หรือตำแหน่งที่ควรจะเป็น และป้องกันฟันเคลื่อนที่ผิดรูป หากไม่ใส่รีเทนเนอร์หลังจากจัดฟัน อาจจะต้องกลับมาจัดฟันซ้ำ เนื่องจากฟันเกิดการล้มหรือเคลื่อนที่ไปจากจุดที่ควรจะเป็น ในช่วงแรกจะต้องสวมรีเทนเนอร์ตลอดทั้งวัน สามารถถอดเฉพาะเวลารับประทานอาหารและเวลาแปรงฟันเท่านั้น หลังจากนั้นทันตแพทย์จัดฟันอาจจะแนะนำให้ใส่เฉพาะเวลานอน ขึ้นอยู่กับความมีวินัยของคนไข้แต่ละท่านนั่นเอง
รีเทนเนอร์มีกี่ประเภท?
รีเทนเนอร์มีทั้งหมด 3 ประเภท ทั้ง 3 ประเภทนี้สามารถช่วยคงสภาพฟันได้เช่นเดียวกัน แต่ละประเภทจะมีความเหมาะสมกับพฤติกรรมของผู้ใช้ที่แตกต่างกันไป
- รีเทนเนอร์แบบใส
รีเทนเนอร์แบบใสเป็นค่อนข้างเป็นที่นิยม เนื่องจากมีความใส ใส่แล้วดูเป็นธรรมชาติ สามารถล็อคฟันทุกตำแหน่งให้คงสภาพได้ดีกว่ารีเทนเนอร์แบบลวด โดยรีเทนเนอร์แบบใสจะทำการผลิตขึ้นมาเฉพาะแต่ละบุคคลเพื่อให้พอดีกับฟันของคนไข้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอดเฉพาะเวลาที่รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีความร้อน แต่ถ้าหากคนไข้ไม่ใส่รีเทนเนอร์เป็นประจำ อาจส่งผลให้ตำแหน่งของฟันมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถใส่รีเทนเนอร์กลับได้เหมือนเดิมและจำเป็นต้องสั่งทำรีเทนเนอร์ใหม่ เนื่องจากไม่สามารถทำการแก้ไขได้ ปกติแล้วรีเทนเนอร์แบบใสจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1-2 ปี
ข้อดี- ใส่สบาย
- สวยงามและใส ทำให้มองไม่เห็นว่ากำลังใส่รีเทนเนอร์อยู่
- ล็อคฟันได้ทุกตำแหน่ง
ข้อเสีย- วัสดุมีความทนทานน้อยกว่ารีเทนเนอร์ชนิดอื่น อาจหักหรือเสียหายได้ง่ายกว่า
- รีเทนเนอร์แบบลวด
รีเทนเนอร์แบบลวด ฐานจะทำจากอะคริลิคโดยขนาดจะมีความพอดีกับเพดานปากของคนไข้แต่ละบุคคล ส่วนด้านหน้าเป็นลวดจากโลหะ ทำหน้าที่ครอบฟันเพื่อไม่ให้ฟันเคลื่อนตัวผิดตำแหน่ง และต้องใส่รีเทนเนอร์ไว้ตลอดในช่วงแรก สามารถถอดเวลารับประทานอาหารหรือแปรงฟันได้ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้กำหนดช่วงระยะเวลาในการใส่ตามความเหมาะสม รีเทนเนอร์แบบลวดมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-5 ปี
ข้อดี
-
- มีความทนทาน
- สามารถเลือกสีของฐานอะคริลิคและหุ้มลวดด้านหน้าได้
ข้อเสีย
-
- ในขณะใส่จะทำให้คนอื่นมองเห็นลวดที่อยู่ในปาก อาจจะทำให้ไม่มีความมั่นใจเวลาพูด
- ในช่วงแรกลวดอาจจะสร้างความระคายเคืองต่อช่องปากและกระพุ้งแก้มได้
- อาจมีปัญหาต่อการออกเสียงในการพูด
- ต้องพบทันตแพทย์เพื่อปรับรีเทนเนอร์เป็นประจำ
3. รีเทนเนอร์แบบติดแน่น
รีเทนเนอร์แบบติดแน่น จะมีลักษณะเป็นลวดติดไว้บริเวณด้านในของฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อนที่ไปจากตำแหน่งเดิมและคงสภาพไม่ให้ฟันห่างออกจากกัน โดยรีเทนเนอร์แบบติดแน่นคนไข้จะไม่สามารถถอดออกได้ด้วยตนเอง ต้องให้ทันตแพทย์ถอดออกให้เท่านั้น เปรียบเสมือนล็อค 2 ชั้น มักจะใช้บ่อยในเคสห่างก่อนจัดฟัน และทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่รีเทนเนอร์แบบใสหรือแบบลวดเพิ่มอีกชั้น เพื่อคงสภาพและตำแหน่งของฟันได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อดี
-
- มองไม่เห็นลวด
- อุปกรณ์จะเสียยาก
- ไม่มีปัญหาเรื่องการถอดรีเทนเนอร์ไว้แล้วลืมหรือหาย
- ไม่มีปัญหาต่อการออกเสียงในการพูด
ข้อเสีย
-
- ทำความสะอาดยาก เนื่องจากเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่าย อาจก่อให้เกิดคราบหินปูน
- ในช่วงแรกลวดอาจจะทำให้ระคายผิวลิ้น
- ราคาสูงกว่ารีเทนเนอร์ชนิดอื่น